วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556



สี คือการรับรู้ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง (หรือโน้ตดนตรี) คือการรับรู้ความถี่หรือความยาวคลื่นของเสียง
มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง
บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า



สีแต่ละสีที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น

สีแดง กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา

สีเหลือง สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส

สีน้ำเงิน สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน

สีเขียว ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น

สีม่วง ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม

สีส้ม ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว

สีขาว สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา

สีดำ เศร้า ความตาย หนัก

น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์

 แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน
   แสง เมื่อส่องกระทบ
 กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา   แสงและเงา
  เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของ
เงาจะขึ้นอยู่
   กับความเข้มของเแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น 
   และในที่ที่มีแสง
สว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง
  จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้าม
กับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนัก
   ของแสงและเงานที่เกิดบนวัตถุ     สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่
 
  ต่าง ๆ ได้ดังนี้









1. บริเวณแสงสว่างจัด  (Hi-light)  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด   จะมี ความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด 

2. บริเวณแสงสว่าง  (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง 
  จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ 

    3. บริเวณเงา (Shade)  เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง     หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก 
  แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง 

    4. บริเวณเงานเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ 
  เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด 

    5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ 
  ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น 
  หลัง ทิศทางและระยะของเงา
5. บริเวณว่าง (Space) หรือ ช่องไฟ  หมายถึง บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรง หรือเนื้อหา ในการจัดองค์ประกอบใดก็ตามถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย  การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว ในทางตรงกันข้าม ถ้าให้มีรูปทรงมากหรือเนื้อหามาก โดยไม่ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างเลยก็จะให้ความรู้สึกอึดอัด คับแคบดังนั้นการจัดวางในอัตราส่วนที่พอเหมาะก็จะให้ความรู้สึกที่พอดีทำให้ได้ภาพที่ได้สัดส่วนงดงาม


พื้นผิว หมายถึง ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อสัมผัสแล้วสามารถ  รับรู้ได้ ว่ามีลักษณะอย่างไร คือรู้ว่า หยาบ ขรุขระ เรียบ มัน ด้าน เนียน สาก  เป็นต้น ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว มี  2  ประเภท คือ 
1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของ 
  ผิวหน้าของวัสดุนั้น ๆ   ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม งานสถาปัตกรรม 
  และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ 

2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิว วัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ   จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหินแต่   มือสัมผัสเป็นกระดาษ  หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อน  เพื่อปะ  ทับบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือว่า    เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตา ให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น 


  พื้นผิวลักษณะต่าง ๆ จะให้ความรู้สึกต่องานศิลปะที่แตกต่างกัน พื้นผิวหยาบจะ 
  ให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาท หนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร    ในขณะที่ผิวเรียบ 
  จะให้ความรู้สึกเบา สบาย การใช้ลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกัน  เห็นได้ชัดเจน 
  จากงานประติมากรรม และมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีการรวมเอาลักษณะ 
  ต่าง ๆ กันของพื้นผิววัสดุหลาย ๆ อย่าง   เช่น อิฐ  ไม้ โลหะ  กระจก  คอนกรีต หิน 
  ซึ่งมีความขัดแย้งกันแต่สถาปนิกได้นำมาผสมกลมกลืนได้อย่างเหมาะสม ลงตัวจน 
  เกิดความสวยงาม 
รูปร่าง 
                       หมายถึง ภาพที่มีลักษณะเป็น 2 มิติ ซึ่งเราสามารถมองได้ 2 ด้าน คือ ด้านกว้างและด้านยาวเท่านั้น
   

  รูปร่าง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
     1.  รูปร่างธรรมชาติ เช่น รูปสัตว์ รูปต้นไม้ รูปคน เป็นต้น



     2.  รูปร่างเรขาคณิต เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลียม รูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น




     3.  รูปร่างอิสระ เช่น รูปร่างถุงเท้า รูปร่างเสื้อผ้า เป็นต้น 




รูปทรง (Form) หมายถึง โครงสร้างของสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยด้าน 3 ด้าน คือ ด้านกว้าง ด้านยาว ด้านหนา เรียกว่า รูป 3 มิติรูปทรงสามารถวัดขนาดและปริมาตรได้ รูปทรงแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. รูปทรงธรรมชาติ (organic form) ได้แก่ หมายถึง รูปทรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ คน สัตว์ พืช มีลักษณะ 3 มิติรูปทรงในลักษณะนี้จะให้ความมีชีวิตชีวา





2. รูปทรงเรขาคณิต (geometric form) ได้แก่ รูปทรงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงกลม ฯลฯสามารถแสดงความกว้าง ความยาว และมิติทางลึกหรือหนามีมวลและปริมาณ



3. รูปทรงอิสระ (free form) ได้แก่ รูปทรงที่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน เช่น รูปทรงของ
ก้อนเมฆ กระแสน้ำ หรือก้อนหิน






เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง
     เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันอีกด้วย
ลักษณะของเส้น
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด

7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง 
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด


Element of Arts


ทัศนธาตุ หมายถึง ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ
 ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา
 รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบ
แต่ละอย่ามาสร้างเป็นงานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ 
ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ
 สามารถสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน
 นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน – แก่
 สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรร
มชาติ ทั้งสิ้น






1.จุด ( point ) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏบน
พื้นระนาบที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่มีความกว้าง 
ความยาว ความสูง ความหนา หรือความลึก 
จุดเป็นทัศนธาตุที่เล็กที่สุดและมีมิติเป็นศูนย์ 
จุดสามารถแสดงตำแหน่งได้เมื่อมีบริเวณว่างรองรับ 
จุดถือเป็นทัศนธาตุหรือพื้นฐานเบื้อ
ต้นที่สุดในการสร้างงานทัศนศิลป์ 
จุดเป็นต้นกำเนิดของทัศนธาตุอื่นๆ เช่น เส้น รูปร่าง
 รูปทรงและพื้นผิว ค่าความอ่อนแก่ แสงเงา
 เราสามารถพบเห็นจุดได้โดยทั่วไปในธรรมชาติ 

เช่น ดวงดาวบนท้องฟ้า บนส่วนต่างๆของผิวพืช
และสัตว์ บนก้อนหิน พื้นดินฯลฯ

ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤตशिल्प ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆงานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน

ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม